14 ก.ค. 2558

พระกริ่งไพรีพินาศ วัดบวรนิเวศวิหาร รุ่น 52 ปี สสช.

·   0

ในโอกาศครบรอบ 52 ปี วันคล้ายวันก่อตั้งสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2558 จึงได้มีการจัดทำเหรียญที่ระลึกเพื่อเป็นอนุสรณ์วัตถุมงคลแก่สำนักงานสถิติแห่งชาติ และข้าราชการ บุคลากร อดีตข้าราชการ ประชาชน และผู้มีอุปการคุณแก่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้นำไปสักการบูชาเพื่อเป็นสิริมงคลสืบไป

วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง

  1. เพื่อเป็นอนุสรณ์วัตถุมงคลที่ระลึกในโอกาศครบรอบ 52 ปี วันคล้ายวันก่อตั้งสำนักงานสถิติแห่งชาติ 23 พฤษภาคม 2558
  2. เพื่อให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราว ปัจจุบัน และอดีตข้าราชการของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เครือข่ายความร่วมมือ และผู้มีอุปการคุณแก่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้นำไปสักการบูชาเพื่อเป็นสิริมงคลสืบไป
ประวัติพระไพรีพินาศ

พระไพรีพินาศ เป็นพระพุทธรูปศิลาขนาดย่อมมีขนาดหน้าพระเพลา 33 เซนติเมตร เป็นพระพุทธรูปแบบ
ธยานิพุทธเจ้าปางประทานพรสมัยศรีวิชัย แต่นักสังเกตบางคนสงสัยว่า “พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัย มีเพียงเกตุมาลา เป็นจอมคล้ายสมัยทวารวดีเป็นพื้น” พระพุทธรูปองค์นี้มีผู้นำมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ราว พ.ศ. 2391 ได้ถวายพระนามว่า “พระไพรีพินาศ”

ในตำนานวัดมีกล่าวว่า “พระไพรีพินาศ” ใคร่ครวญตามพระนามน่าจะได้เชิญประดิษฐานไว้ในเก๋งน้อยที่สร้างใหม่ ณ ทักษิณชั้นบนแห่งพระเจดีย์ในครั้งนั้น เมื่อ พ.ศ. 2391 ที่เป็นการสิ้นเสี้ยนศัตรูครั้งแรก

พระไพรีพินาศในสาส์นสมเด็จ เล่ม 2 หน้า 85 – 90 -116 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทูลสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ตั้งปัญหาถามกระหม่อมว่า พระไพรีพินาศนั้นเป็นพระอะไร มาแต่ไหน ทำไมจึงมาอยู่วัดบวรนิเวศ เหตุใดจึงชื่อพระไพรีพินาศ เกล้ากระหม่อมหงายท้องไม่สามารถตอบได้ อยากรู้เหมือนกัน เคยทูลถามฝ่าพระบาทก็ไม่ทรงทราบเหมือนกัน หันไปหันมาเห็นกรมหมื่นพงศาจึงลองเข้าจดทูลถามดู ตรัสบอกว่า ใครก็ทรงจำชื่อไม่ได้เสียแล้ว เป็นผู้นำมาถวายทูลกระหม่อมเมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ เป็นเวลาติดต่อกับที่หม่อมไกรสรถูกสำเร็จโทษ จึงโปรดตั้งพระนามว่า “พระไพรีพินาศ”


การเลือกพระไพรีพินาศมาจัดทำเป็นเหรียญที่ระลึก
ขณะนี้สถานการณ์ด้านจัดเก็บข้อมูลมีความยากลำบาก เป็นอย่างยิ่ง เพราะความเจริญของเมือง ประชาชนต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประกอบอาชีพอย่างเร่งด่วน การมีโลกส่วนตัวสูงทให้เข้าถึงแหล่งข้อมูลด้วยความลำบาก และมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เข้าเก็บข้อมูลในพื้นที่ เกิดความลังเล
และไม่มั่นใจในการให้ข้อมูล ขณะเดียวกันในด้านการบริหารจัดการระบบสถิติต้องสร้างความเข้าใจในการแบ่งปัน และร่วมใช้ข้อมูล และการมีส่วนในการบริหารจัดการข้อมูล อันเป็นการเริ่มต้น วิวัฒนาการใช้ข้อมูล ซึ่งต้องฟันฝ่าอุปสรรคอย่างมาก ดังนั้น หากทำเหรียญวัตถุมงคล ควรพิจารณาจากพระพุทธลักษณ์ปางต่าง ๆ 66 ปาง (แผนกโบราณคดี กรมศิลปากร) เมื่อพิจารณา 66 ปาง จากเว็บไซต์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และเห็นพ้องต้องกันว่า ควรพิจารณาปางที่ 48 ปางประทานพร
เป็นด้านหน้าของเหรียญ พระพุทธรูปนี้มี 2 แบบ คือ
     แบบที่หนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งสมาธิ และพระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาแบฝ่าพระหัตถ์ ยื่นออกไปวางที่พระชานุ
     แบบที่สอง อยู่ในพระอิริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้นเสมอพระอุระ หงายฝ่าพระหัตถ์ออกไปข้างนอกบ้าง ยกขึ้นเสมอพระอังสะถือชายจีวรบ้าง พระหัตถ์ขวาห้อยหันฝ่าพระหัตถ์ออกไปข้างหน้า เป็นกิริยาประทาน

คณะทำงานพิจารณาแล้ว ขอนำพระพุทธรูปปางประทานพร ในพระอิริยาบถนั่งสมาธิเป็นด้านหน้าของเหรียญที่ระลึก ใช้ในความหมายของการให้พรและการอนุญาต ซึ่งอยู่ในความนิยมของการสร้าง

สืบเนื่องจากการจัดทำโครงการจัดทำเหรียญที่ระลึกนี้เพิ่งมีระยะเวลาห่างจากวันก่อตั้งเพียง 133 วัน เพื่อให้มีความเป็นไปได้ที่จะสัมฤทธิผล เห็นว่าพระไพรีพินาศแห่งวัดบวรฯ เป็นพระพุทธรูปปางประทานพร ซึ่งนิยมแบบที่มีแบบพิมพ์ และบล็อกสำเร็จรูปได้ จะเป็นการประหยัดเวลาดำเนินการได้มาก โดยรักษาพุทธลักษณะของพระไพรีพินาศรุ่นแรก ปี 2495 เป็นหลัก แล้วเพิ่มเติมคำว่า 52 ปี สสช. หรือ ครบรอบ 52 ปี สำนักงานสถิติแห่งชาติ

รูปแบบการจัดสร้างพระไพรีพินาศ
รูปแบบการสร้างพระกริ่งไพรีพินาศและเหรียญพระไพรีพินาศเป็นรูปแบบของวัดบวรนิเวศวิหาร ปี พ.ศ. 2495 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการระลึกถึงวันคล้ายวันก่อตั้งสำนักงานสถิติแห่งชาติ จึงยึดรูปแบบเดิมในการจัดสร้างครั้งแรกมาเป็นต้นแบบในการจัดสร้างทั้งหมด

จากการเข้าเฝ้าเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต ผู้รักษาการแทนเจา้ อาวาสวดั บวรนิเวศวิหาร ให้เพิ่มการจัดสร้างพระไพรีพินาศเนื้อทองคำ ำ และลดจำนวนการจัดสร้างพระไพรีพินาศเนื้อทองทิพย์โดยได้รับอนุญาตผ่านความเห็นชอบจากเจ้าประคุณสมเด็จฯ ให้จัดสร้างพระไพรีพินาศครั้งแรก ดังนี้

1. เนื้อทองคำ  จำนวน 251 องค์
     1.1 พระกริ่งไพรีพินาศ  ขนาด 3.3 ซม.   จำนวน 68 องค์
     1.2 เหรียญพระไพรีพินาศ  ขนาด 3.1 ซม.   จำนวน 78 องค์
     1.3 เหรียญพระไพรีพินาศ  ขนาด 1.8 ซม.   จำนวน 105 องค์
2. เนื้อทองทิพย์ จำนวน 10,156 องค์
     2.1 พระกริ่งไพรีพินาศ  ขนาด 3.3 ซม.   จำนวน 2,052 องค์
     2.2 เหรียญพระไพรีพินาศ  ขนาด 3.1 ซม.   จำนวน 4,052 องค์
     2.3 เหรียญพระไพรีพินาศ  ขนาด 1.8 ซม.   จำนวน 4,052 องค์

ทั้งนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราว และผู้มีอุปการคุณแจ้งความประสงค์ในการร่วมสมทบทุนจัดสร้างวัตถุมงคลดังกล่าว โดยมีช่วงเวลารับแจ้งระหว่างวันที่ 23 มกราคม 2558 และปิดการรับแจ้ง วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 โดยผู้สมทบทุนจะได้รับวัตถุมงคลตามรายการที่แจ้งยอดแต่ละประเภทของวัตถุมงคล และคณะทำงานร่วมกับคุณพิศาล วณิชชัยอาภรณ์ ประธานบริษัท พี.เอส.โฟรตี้-นายน์ จำกัด ได้จัดทำโครงการมอบเหรียญที่ระลึกพระไพรีพินาศพร้อมจัดเลี้ยงอาหารกลางวันให้กับเด็กกำพร้าในสังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

พิธีพุทธาภิเษก
พระกริ่งไพรีพินาศและเหรียญไพรีพินาศ ครบรอบ 52 ปี วันคล้ายวันก่อตั้งสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยพระเถระคณาจารย์ชื่อดังอธิษฐานจิต และพระสงฆ์ร่วมสวดพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2558
  1. พระเถระคณาจารย์ 6 รูป นั่งปรกอธิษฐานจิตเจริญบริกรรมภาวนา
  2. พระสวดมหานาค 4 รูป จากวัดบวรนิเวศวิหาร
  3. พระสวดพระพุทธมนต์ 10 รูป
  4. ประธานจุดเทียนชัย ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต รักษาการเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
  5. ประธานดับเทียนชัย พระเทพสารเวที วัดบวรนิเวศหาร
  6. ประธานฝ่ายฆราวาส นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ
พระเถระคณาจารย์ที่นิมนต์นั่งปรกอธิษฐานจิตเจริญบริกรรมภาวนา
  • พระธรรมกวี วัดราชาธิวาส
  • พระเทพสารเวที วัดบวรนิเวศวิหาร
  • พระเทพปริยัติมงคล โอภาส โอภาโส เจ้าอาวาสวัดจองคำ จังหวัดลำปาง
  • ดร.พระครูไพศาลชัยกิจ (หลวงปู่ฤาษีตาไฟ) เจ้าอาวาสวัดเทพหิรัณย์ จังหวัดชัยนาท
  • พระครูวินัยธร สุริยันต์ โฆสปัญโญ เจ้าอาวาสวัดป่าวังน้ำเย็น จังหวัดมหาสารคาม
  • พระครูวินัยธร ชัยยะ โอภาโส เจ้าอาวาสวัดไร่บางตาวา จังหวัดปัตตานี



Subscribe to this Blog via Email :